พิพิธภัณฑ์วัดพรหมราช
สถานที่ตั้งและการติดต่อ
- ๑ หมู่ ๘ ต.ตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ๓o๑๕o
- โทรศัพท์ o๔๔-๔๔๑๙๒๙ , o๘๙-๕๓๑๙๕๓๖
- E-mail : watpromrach@gmail.com
- http://watpromrach.blogspot.com
ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ วัดพรหมราช เป็นความตั้งใจและยึดมั่นนับจากอดีตเจ้าอาวาสวัดพรหมราช ปัจจุบันคือพระสีหราชสมาจารมุนี (โอภาส นิรุตติเมธี) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (พระธรรมวรนายก) ริเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2530
ส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ในปัจจุบัน สร้างขึ้นในราวปีพ.ศ. 2544 โดยได้งบประมาณสนับสนุนมาจากกองทุนพัฒนาชุมชนและงบประมาณของวัด ในการจัดแสดงมีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มาช่วยดูแลในเรื่องข้อมูล
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
การจัดแสดงนิทรรศการถาวรเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเภทสิ่งของที่จัดแสดง หรือวัตถุสะสมอาทิเช่น เครื่องปั้นดินเผา, โบราณวัตถุ, เครื่องมือการเกษตร, เครื่องมือทอผ้า, เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน, เครื่องแต่งกายและผ้าทอ, เครื่องทองเครื่องเงิน, เครื่องไม้, เครื่องดนตรี เครื่องจักสาน, เงินตรา (ธนบัตร/เหรียญกษาปณ์), หิน, อาวุธ, นาฬิกา เป็นต้น
ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น ๒ ชั้น มีการจัดแสดงทั้ง ๒ ชั้น โดยจัดแสดงวัตถุสิ่งของไว้ในตู้ , ชั้นวางและแท่นไม้ วัตถุสิ่งของที่จัดแสดงมีการแบ่งแยกประเภทไว้เป็นกลุ่ม ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงหลัก ดังนี้
- ชั้นที่ ๑
๑. ส่วนทิศเหนือประกอบด้วย มุมพระพุทธรูป , ตู้แสดงเครื่องถ้วย เครื่องเบญจรงค์ และ
เครื่องลายคราม , ตู้แสดงเครื่องลายคราม ตะเกียง กระโถน และกล่อง
๒. ส่วนกลางทิศตะวันตกประกอบด้วย หน้าบัน , ตู้แสดงอาวุธ, ตู้แสดงชุดน้ำชา,
ตู้แสดงเครื่องปั้นดินเผา , ตู้แสดงวัตถุหินทราย, แท่นแสดงเสือลายเมฆ นกเงือกสตัฟฟ์
และแท่นหินทราย , หีบอ้อย และชั้นแสดงหิน
๓. ส่วนกลางทิศตะวันออกประกอบด้วย ตู้แสดงผ้าทอ , ตู้แสดงเครื่องปั้นดินเผา
ตู้แสดงเครื่องถ้วย , ตู้แสดงโลหะ, ชั้นวางเครื่องปั้นดินเผา และแท่นแสดงเครื่องปั้นดินเผา
๔. ส่วนทิศใต้ประกอบด้วย ตู้แสดงเครื่องปั้นดินเผา, ตู้แสดงเครื่องใช้, โต๊ะและชั้นแสดง
เครื่องใช้ และตู้แสดงเครื่องดนตรี
- ชั้นที่ ๒
๑. ห้องแสดงพระพุทธรูปและเอกสารโบราณ
๒. ส่วนกลาง ประกอบด้วย ตู้แสดงพระพุทธรูป , แท่นหินสลัก, ตู้แสดงเงินตรา
ตู้แสดงหิน , ตู้แสดงเครื่องปั้นดินเผา, ตู้แสดงเครื่องใช้, ตู้แสดงเชี่ยนหมาก ,
ตู้แสดงหอยและเครื่องปั้นดินเผา
ในการจัดแสดง วัตถุสิ่งของบางชิ้นมีการทำแผ่นป้ายแสดงข้อมูล ประกอบด้วยชื่อ
ที่มาสมัย และหน้าที่ในการใช้งาน แต่เป็นเพียงส่วนน้อย บางชิ้นมีการติดกระดาษแสดง
ชื่อผู้บริจาค